แบรนเนอรื

แบรนเนอรื

31 ก.ค. 2554

ศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา


สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล





Ø                    สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาได้มีการนำหลักและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในหลายๆด้าน โดยเน้นให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ ได้มาสัมผัสและเรียนรู้ด้วยตนเอง จากประสาทสัมผัส คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส เพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลักษณะการเรียนรู้ คำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นที่รูปแบบที่เป็นจริง หรือจำลองให้เหมือนจริงที่สุด มีการนำหลักของ เอดการ์ เดล มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ตั้งแต่รูปธรรม จนไปถึง นามธรรม เช่น การสาธิต นิทรรศการ ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง ทัศนสัญลักษณ์ หรือ วจนสัญลักษณ์ มีการนำวัสดุกราฟิก ทั้งสื่อวัสดุกราฟิก สื่อวัสดุ 3 มิติ สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์  ภาพเขียน ภาพสี สัญลักษณ์ต่างๆ มีการจำลองให้เหมือนกับโลกใต้ทะเลจริงๆ แสดงการดำรงชีวิต สิ่งแวดล้อม ของสัตว์ใต้ท้องทะเล มีตู้อันตรทัศน์ กระบะทราย เน้นการเรียนรู้โดยการสังเกต โดยสร้างสิ่งเร้าที่น่าสนใจ ให้ผู้ศึกษาได้เกิดประสบการณ์ ความเข้าใจ ความนึกคิด นับว่าเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ได้นำเทคโนโลยีการศึกษามาเป็นสื่อในการให้ความรู้ มีประโยชน์ต่อผู้เรียนเป็นอย่างมาก


สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 2  ชั้น คือ

ชั้น 1

            
           1. สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำขึ้น น้ำลง
                       เช่น กุ้ง หอยรางรม ปูเสฉวน เม่นทะเล ดาวทะเล ดอกไม้ทะเล เป็นต้น


           2. ปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการัง
                       เช่น ปลาการ์ตูน ปลาสลิด ปลาผีเสื้อ ปลาผีเสื้อ ปลาโนรี ปลาเขียวพระอินทร์


            3. ปลาเศรษฐกิจ
                         แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
                          
                          1. ประเภทที่นำมาเป็นอาหาร เช่น ปลากะรัง(ปลาเก๋า)  ปลาอีคุด  ปลาสีขน ปลาสร้อยนกเขาลายตรง  ปลาหูช้าง ปลานวลจันทร์ ปลาจาระเม็ด  ปลาอินทรีย์


                          2. ปลาที่นำมาเลี้ยงเพื่อความสวยงาม เช่น ปลาสลิดทะเล  ปลานกแก้ว  ปลานกขุนทอง ปลาสินสมุทร ปลาข้าวเม่าน้ำลึก ปลาผีเสื้อปากยาว ปลาฉลามกบ  ปลาตาเหลือกสั้น 



          4. ปลารูปร่างแปลกและปลามีพิษ
                       เช่น ปลากระเบน  ปลาวัว  ปลาลิ้นหมา  ปลาไหลทะเล   ปลาปักเป้า  ปลาอุบ




        5.ปลาที่อาศัยในมหาสมุทร
                    เช่น ปลาโอ  ปลากะพงขาว  ปลาหมอทะเล  ปลากระเบน   ปลาฉลาม  



ชั้น 2




         1. จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯเกี่ยวกับพระราชกรณืยกิจด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและด้านวิทยาศาสตร์การประมง



          2. นิทรรศการเรื่องราวอาณาจักรสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล

          3. นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเลซึ่งจะกล่าวถึงการแบ่งเขตของทะเลและระบบนิเวศต่างๆในทะเล รวมทั้งพืชและสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ





         4. นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น ทะเลเป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ และเรือประมงชนิดต่างๆเป็นต้น




         5. ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย จะจัดแสดงเกี่ยวกับกลุ่มของเปลือกหอยที่พบในทะเลต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับหอยแต่ละกลุ่ม วิวัฒนาการของหอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและการแบ่งกลุ่มของหอยที่มีอยู่ในโลก





จากการไปศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาในครั้งนี้ ทำให้ได้รับความรู้ ประสบการณ์และความสนุกสนานเป็นอย่างมาก

  
ต้องขอขอบคุณ คุณจิรโชติ   แช่มชื่น   ที่มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ต่างๆ แก่ นิสิตชั้นปีที่ 1
 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนสังคมศึกษา  มหาวิทยาลัยบูรพา



เก็บตกภาพ












การเรียนรู้ ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ภายในห้องเรียนเพียงเท่านั้น  
ทุกสถานที่ รอบตัวเรา เป็นแหล่งเรียนรู้ได้หมด

คุณ!  เคยเปิดใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆรอบตัว หรือยัง??


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น