แบรนเนอรื

แบรนเนอรื

31 ก.ค. 2554

ศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา


สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล





Ø                    สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาได้มีการนำหลักและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในหลายๆด้าน โดยเน้นให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ ได้มาสัมผัสและเรียนรู้ด้วยตนเอง จากประสาทสัมผัส คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส เพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลักษณะการเรียนรู้ คำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นที่รูปแบบที่เป็นจริง หรือจำลองให้เหมือนจริงที่สุด มีการนำหลักของ เอดการ์ เดล มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ตั้งแต่รูปธรรม จนไปถึง นามธรรม เช่น การสาธิต นิทรรศการ ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง ทัศนสัญลักษณ์ หรือ วจนสัญลักษณ์ มีการนำวัสดุกราฟิก ทั้งสื่อวัสดุกราฟิก สื่อวัสดุ 3 มิติ สื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์  ภาพเขียน ภาพสี สัญลักษณ์ต่างๆ มีการจำลองให้เหมือนกับโลกใต้ทะเลจริงๆ แสดงการดำรงชีวิต สิ่งแวดล้อม ของสัตว์ใต้ท้องทะเล มีตู้อันตรทัศน์ กระบะทราย เน้นการเรียนรู้โดยการสังเกต โดยสร้างสิ่งเร้าที่น่าสนใจ ให้ผู้ศึกษาได้เกิดประสบการณ์ ความเข้าใจ ความนึกคิด นับว่าเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ได้นำเทคโนโลยีการศึกษามาเป็นสื่อในการให้ความรู้ มีประโยชน์ต่อผู้เรียนเป็นอย่างมาก


สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 2  ชั้น คือ

ชั้น 1

            
           1. สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำขึ้น น้ำลง
                       เช่น กุ้ง หอยรางรม ปูเสฉวน เม่นทะเล ดาวทะเล ดอกไม้ทะเล เป็นต้น


           2. ปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการัง
                       เช่น ปลาการ์ตูน ปลาสลิด ปลาผีเสื้อ ปลาผีเสื้อ ปลาโนรี ปลาเขียวพระอินทร์


            3. ปลาเศรษฐกิจ
                         แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
                          
                          1. ประเภทที่นำมาเป็นอาหาร เช่น ปลากะรัง(ปลาเก๋า)  ปลาอีคุด  ปลาสีขน ปลาสร้อยนกเขาลายตรง  ปลาหูช้าง ปลานวลจันทร์ ปลาจาระเม็ด  ปลาอินทรีย์


                          2. ปลาที่นำมาเลี้ยงเพื่อความสวยงาม เช่น ปลาสลิดทะเล  ปลานกแก้ว  ปลานกขุนทอง ปลาสินสมุทร ปลาข้าวเม่าน้ำลึก ปลาผีเสื้อปากยาว ปลาฉลามกบ  ปลาตาเหลือกสั้น 



          4. ปลารูปร่างแปลกและปลามีพิษ
                       เช่น ปลากระเบน  ปลาวัว  ปลาลิ้นหมา  ปลาไหลทะเล   ปลาปักเป้า  ปลาอุบ




        5.ปลาที่อาศัยในมหาสมุทร
                    เช่น ปลาโอ  ปลากะพงขาว  ปลาหมอทะเล  ปลากระเบน   ปลาฉลาม  



ชั้น 2




         1. จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯเกี่ยวกับพระราชกรณืยกิจด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและด้านวิทยาศาสตร์การประมง



          2. นิทรรศการเรื่องราวอาณาจักรสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล

          3. นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเลซึ่งจะกล่าวถึงการแบ่งเขตของทะเลและระบบนิเวศต่างๆในทะเล รวมทั้งพืชและสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ





         4. นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น ทะเลเป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ และเรือประมงชนิดต่างๆเป็นต้น




         5. ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย จะจัดแสดงเกี่ยวกับกลุ่มของเปลือกหอยที่พบในทะเลต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับหอยแต่ละกลุ่ม วิวัฒนาการของหอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและการแบ่งกลุ่มของหอยที่มีอยู่ในโลก





จากการไปศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพาในครั้งนี้ ทำให้ได้รับความรู้ ประสบการณ์และความสนุกสนานเป็นอย่างมาก

  
ต้องขอขอบคุณ คุณจิรโชติ   แช่มชื่น   ที่มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ต่างๆ แก่ นิสิตชั้นปีที่ 1
 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนสังคมศึกษา  มหาวิทยาลัยบูรพา



เก็บตกภาพ












การเรียนรู้ ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ภายในห้องเรียนเพียงเท่านั้น  
ทุกสถานที่ รอบตัวเรา เป็นแหล่งเรียนรู้ได้หมด

คุณ!  เคยเปิดใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆรอบตัว หรือยัง??


11 ก.ค. 2554

สื่อการสอน



สรุปเนื้อหาสื่อการสอน



การแบ่งประเภทสื่อการสอน
สื่อการสอน Instructional  Media 
ความหมาย 
            ตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ความคิดและทักษะต่างๆไปสู่ผู้เรียน
ความสำคัญ
      สื่อเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ  เพราะสื่อจะเป็นตัวการสำคัญที่นำเอาความรู้  ความคิด  ประสบการณ์และทักษะต่าง  ๆ ไปสู่ผู้เรียน  กระบวนการเรียนการสอนจำเป็นต้องใช้สื่อ  สื่อการสอนทำให้ความเป็นนามธรรมไปสู่รูปธรรม
ประเภทของสื่อการสอน
             - แบ่งตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน
                    - แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา
                    - แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากธรรมไปสู่นามธรรม  (Edgar  Dale)

 Percival  and  Ellington(1984)  และ  De  Kieffer  (1965) 
 ได้แบ่งสื่อการสอนตามลักษณภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน  มี  3  ประเภท
    - สื่อที่ไม่ต้องฉาย  (non  projected  material)

           - สื่อที่ต้องฉาย  (projected  material)



           - สื่อที่เกี่ยวกับเสียง  (Audio material )



แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา

  1.  วัสดุ  -  สื่อที่ผลิตขึ้น  เช่น  รูปภาพ  แผนภูมิ

          
 2.  อุปกรณ์  -  เครื่องมืออุปกรณ์  สำเร็จรูป  ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง  เช่น  หุ่นจำลอง 

 และ  สื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ  เช่น  วีดิทัศน์  สไลด์




  3.  วิธีการ  -  กิจกรรม  เกม  ศูนย์การเรียน  ทัศนศึกษา  สถานการณ์จำลอง  แหล่งความรู้ชุมชน

  



สื่อการสอนประเภทวัสดุ  (Software  or  Material)

  -  เป็นสิ่งที่ได้รับบรจุเนื้อหาสาระเรื่องราวหรือความรู้ไว้ในลักษณะต่าง ๆ
 สื่อการสอนอุปกรณ์  (Hardware)
  -  เป็นตัวผ่านที่ทำให้ข้อมูล  ความรู้  หรือสาระ  ที่อยู่ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมา    
สื่อการสอนประเภทเทคนิคและวิธีการ(Techniques  and  Methods)

       สื่อการสอนที่มีลักษณะเป็นแนวความคิด  รูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน  หรือเทคนิคที
ไม่มีลักษณะทางกายภาพเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์  แต่สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์มาช่วยในการดำเนินงานได้
สื่อการสอนแบ่งตามกระบวรการเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมของEdgar Dale
 1. ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย เป็นสื่อการสอนที่สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียน สามารถรับรู้ เรียนรู้ด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติ เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริง ได้สัมผัสด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น การฝึกทำอาหาร การทดลองต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับโปรเจคเตอร์

      2. ประสบการณ์จำลอง เป็นการสอนที่ผูุ้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุด แต่ไม่ใช่ความจริง อาจเป็นสิ่งของจำลอง หรือสถานการณ์จำลอง เช่น การฝึกหัดผ่าตัดตาด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การฝึกหัดขับเครื่องบินด้วยเครื่อง Flight Simulator

       3.ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ในการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร นิยมใช้สอนในเนื้อหาที่มีข้อจำกัดในเรื่องยุคสมัยเวลา

     4.การสาธิต เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จาการดูการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้นๆ เช่นการสาธิตอาบน้ำเด็กแรกเกิด

  5.การศึกษานอกสถานที่ เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆภายนอกชั้นเรียนโดยการท่องเที่ยว หรือการเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ โดยมีการจดบันทึกสิ่งที่พบตลอดจนอาจมีการสัมภาษณ์บุคคลที่ดูแลสถานที่เยี่ยมชม

  6.นิทรรศการเป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งต่างๆที่ได้จัดแสดงไว้ในลักษณะของนิทรรศการ หรือการจัดป้ายนิเทศ ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสาระและเนื้อหาที่แสดงไว้ในนิทรรศการหรือป้ายนิเทศ

  7.โทรทัศน์ เป็นการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสอนโดยเฉพาะเน้นที่โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนเป็นการสอนหรือให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรือทางบ้าน ใช้ทั้งระบบวงจรปิดและวงจรเปิด ซึ่งการสอนอาจเป็นการบันทึกลงเทปวีดีทัศน์ หรือเป็นรายการสดก็ได้ การใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการชมโทรทัศน์

    8.ภาพยนตร์ เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว มีเสียงประกอบ และได้บันทึกลงไว้ในแผ่นฟิล์ม มาเป็นสื่อการสอน ผู้เรียนจะเรียนรู้หรือได้ประสบการณ์ทั้งจากภาพและเสียง หรือจากภาพอย่างเดียวถ้าเป็นภาพยนตร์เงียบ

   9.ภาพนิ่ง วิทยุ และแผ่นเสียง เป็นการใช้สื่อการสอนที่เป็นภาพนิ่ง วิทยุ หรือเทปบันทึกเสียงเพื่อให้ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่ผู้เรียนสัมผัสได้เพียงด้านเดียว ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้จากการดูภาพ  สื่อวิทยุเป็นสื่อที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการฟัง ข้อมูลหรือสาระความรู้ที่บันทึกอยู่ในสื่อประเภทนี้จะสามารถให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้ ถึงแม้ผู้เรียนจะอ่านหนังสือไม่ออก ก็สามารถเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนได้ เนื่องจากเป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนโดยผ่านการฟังหรือดูภาพ

     10. ทัศนสัญญลักษณ์  วัสดุกราฟิกทุกประเภท เช่น แผนที่ แผนภูมิ แผนสถิติ แผนภาพ การ์ตูนเรื่อง หรือสัญญลักษณ์รูปแบบต่างๆที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย การใช้สื่อประเภทนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานในการทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายจึงจะเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอโดยการสื่อเป็นอย่างดี เนื้อหาจะถูกสื่อความหมายผ่านทางสัญญลักษณ์ หรืองานกราฟิก ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการตีความสัญญลักษณ์ที่นำมาใช้สื่อความหมาย

      11.วจนสัญญลักษณ์  เป็นสื่อการสอนที่อยู่ในรูปแบบของการพูด คำบรรยาย ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือสัญญลักษณ์พิเศษต่างๆที่ใช้ในภาษาการเขียน ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนโดยผ่านสื่อประเภทนี้ จัดว่าเป็นประสบการณ์ขั้นที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุด

ตัวอย่างสื่อการสอน






}มีการกล่าวถึงความหมายของ  สื่อการสอนประเภท  วัสดุ  ว่าเป็น สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง  ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร
                                               
              จากความคิดของดิฉัน สื่อการสอนประเภทวัสดุไม่ใช่สิ่งหรือสัสดุที่สิ้นเปลือง เพราะสื่อการสอนเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ มีประโยชน์มากมายหลายด้าน ทำให้มนุษย์มีศักยภาพในการพัฒนาและ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น คำว่าวัสดุสิ้นเปลืองนั้น ดิฉันมองว่าจะนำไปใช้กับสิ่งที่มีราคาแพง แต่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร หรือ เป็นเป็นโทษ เกิดผลที่ไม่ดีต่อผู้ใช้ เช่นนี้จึงจะเรียกว่า วัสดุสิ้นเปลือง แต่สื่อการสอนประเภทวัสดุนั้นมีประโยชน์ เกินกว่าที่จะมองว่าเป็นวัสดุสิ้นเปลือง

}กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale  แบ่งสื่อการสอนโดยยึดหลักอะไร / สรุปสาระสำคัญ

เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอน เพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ ในขณะเดียวกันก็แสดงขั้นตอน ของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วยโดยพัฒนาความคิดของบรุนเนอร์  ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา ก่อนนำสร้างเป็น กรวยประสบการณ์” (Cone of Experience) 
 สื่อการสอนแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมของ Edgar Dale
1. ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย เป็นสื่อการสอนที่สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียน สามารถรับรู้ เรียนรู้ด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติ เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริง ได้สัมผัสด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น การฝึกทำอาหาร การทดลองต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับโปรเจคเตอร์
2. ประสบการณ์จำลอง เป็นการสอนที่ผูุ้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุด แต่ไม่ใช่ความจริง อาจเป็นสิ่งของจำลอง หรือสถานการณ์จำลอง เช่น การฝึกหัดผ่าตัดตาด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การฝึกหัดขับเครื่องบินด้วยเครื่อง Flight Simulator
3.ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณืในการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร นิยมใช้สอนในเนื้อหาที่มีข้อจำกัดในเรื่องยุคสมัยเวลา
4.การสาธิต เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จาการดูการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้นๆ เช่นการสาธิตอาบน้ำเด็กแรกเกิด
5.การศึกษานอกสถานที่ เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่างๆภายนอกชั้นเรียนโดยการท่องเที่ยว หรือการเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ โดยมีการจดบันทึกสิ่งที่พบตลอดจนอาจมีการสัมภาษณ์บุคคลที่ดูแลสถานที่เยี่ยมชม
6.นิทรรศการเป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งต่างๆที่ได้จัดแสดงไว้ในลักษณะของนิทรรศการ หรือการจัดป้ายนิเทศ ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสาระและเนื้อหาที่แสดงไว้ในนิทรรศการหรือป้ายนิเทศ
7.โทรทัศน์ เป็นการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสอนโดยเฉพาะเน้นที่โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนเป็นการสอนหรือให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรือทางบ้าน ใช้ทั้งระบบวงจรปิดและวงจรเปิด ซึ่งการสอนอาจเป็นการบันทึกลงเทปวีดีทัศน์ หรือเป็นรายการสดก็ได้ การใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการชมโทรทัศน์
8.ภาพยนตร์ เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว มีเสียงประกอบ และได้บันทึกลงไว้ในแผ่นฟิล์ม มาเป็นสื่อการสอน ผูเรียนจะเรียนรู้หรือได้ประสบการณ์ทั้งจากภาพและเสียง หรือจากภาพอย่างเดียวถ้าเป็นภาพยนตร์เงียบ
9.ภาพนิ่ง วิทยุ และแผ่นเสียง เป็นการใช้สื่อการสอนที่เป็นภาพนิ่ง วิทยุ หรือเทปบันทึกเสียงเพื่อให้ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่ผู้เรียนสัมผัสได้เพียงด้านเดียว ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้จากการดูภาพ  สื่อวิทยุเป็นสื่อที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการฟัง ข้อมูลหรือสาระความรู้ที่บันทึกอยู่ในสื่อประเภทนี้จะสามารถให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้ ถึงแม้ผู้เรียนจะอ่านหนังสือไม่ออก ก็สามารถเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนได้ เนื่องจากเป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนโดยผ่านการฟังหรือดูภาพ
10. ทัศนสัญญลักษณ์  วัสดุกราฟิกทุกประเภท เช่น แผนที่ แผนภูมิ แผนสถิติ แผนภาพ การ์ตูนเรื่อง หรือสัญญลักษณ์รูปแบบต่างๆที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย การใช้สื่อประเภทนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานในการทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายจึงจะเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอโดยการสื่อเป็นอย่างดี เนื้อหาจะถูกสื่อความหมายผ่านทางสัญญลักษณ์ หรืองานกราฟิก ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการตีความสัญญลักษณ์ที่นำมาใช้สื่อความหมาย
11.วจนสัญญลักษณ์  เป็นสื่อการสอนที่อยู่ในรูปแบบของการพูด คำบรรยาย ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือสัญญลักษณ์พิเศษต่างๆที่ใช้ในภาษาการเขียน ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนโดยผ่านสื่อประเภทนี้ จัดว่าเป็นประสบการณ์ขั้นที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุด


กรวยประสบการณ์ของEdgar Dale